สมาคมธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์
Call Contact
092-271-2050
นายกสมาคม
นายกสมาคม
น.สพ.สมบัติ โรจน์อัศวเสถียร
นายกสมาคมฯ
สรุปภาวะสินค้าเกษตรประจำสัปดาห์
ยาสัตว์
 
 
 
ข่าวประกาศ
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลในการติชม เว็ปสมาคมฯ
ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2556
ประชุมสามาคม วันที่ 21 พฤศจิกยน 2555
 
สมัครสมาชิกสมาคมเวชภัณฑ์สัตว์
 
หมวดที่ 1
บทความทั่วไป
สมาคมเวชภัณฑ์สัตว์
หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์
หมวดที่ 3
สมาชิกและสมาชิกภาพ
ข้อ 5. ประเภทสมาชิก   สมาชิกของสมาคมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ :-
  1. สมาชิกสามัญ
  2. สมาชิกวิสามัญ
ข้อ 6. คุณสมบัติของสมาชิก
  1. สมาชิกสามัญ ได้แก่นิติบุคคลที่ประกอบการค้าเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
  2. สมาชิกวิสามัญ ได้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพหรือวิสาหกิจอันเกี่ยวเนื่องกับการปศุสัตว์ และการค้าเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
ข้อ 7. คุณลักษณะของผู้ที่เป็นสมาชิก   นอกจากมีคุณสมบัติตามกำหนดไว้ในข้อ 6 แล้ว ผู้จะเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยังจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย คือ :-

    (1)ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา
     1.เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
     2.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือบุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
     3.ไม่เคยเป็นบุคคลที่เคยต้องโทษจำคุกพิพากษาถึงที่สุดของศาลมาก่อน เว้นแต่ความผิดลหุโทษ         หรือความผิดที่มีกำหนดโทษขั้นลหุโทษ หรือความผิดซึ่งกระทำโดยประมาท
     4. ไม่เป็นโรคอันพึงรังเกียจแก่สังคม
     5. เป็นผู้ที่มีฐานะมั่นคงพอสมควร
     6. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
    (2)ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล
     1.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
     2.มีฐานะมั่นคงพอสมควร  
               ให้นำข้อความใน (1) บังคับแก่คุณลักษณะของผู้แทนนิติบุคคลที่ได้รับแต่งตั้ง ให้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่เป็นสมาชิกของสมาคม ตามข้อ 11 ด้วย
ข้อ 8. การสมัครเข้าเป็นสมาชิก       ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญของสมาคมจะต้องยื่นความจำนงต่อเลขาธิการ ของสมาคมตามแบบพิมพ์ที่สมาคมได้กำหนดไว้โดยมีสมาชิกสามัญของสมาคมเป็นผู้รับรอง อย่างน้อย 2 คน
ข้อ 9. การพิจารณาคำขอสมัครเข้าเป็นสมาชิก ให้เลขาธิการสมาคมนำใบสมัครเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคมในคราวต่อไปครั้งแรกหลังจากที่ได้รับใบสมัคร เมื่อคณะกรรมการของสมาคมมีมติให้รับหรือไม่รับผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ให้เลขาธิการสมาคมมีหนังสือแจ้งให้ผู้สมัครผู้นั้นทราบภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ
                หนังสือแจ้งดังกล่าวในวรรคแรกจะต้องจัดส่งเป็นจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของผู้สมัครที่ปรากฏอยู่ในใบสมัคร
ข้อ 10. วันเริ่มสมาชิกภาพสมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่วันที่ผู้สมัครได้ชำระค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงเรียบร้อยแล้วพร้อมทั้งได้รับการรับรองตามข้อ 9
ข้อ 11. สมาชิกที่เป็นนิติบุคคล สมาชิกที่เป็นนิติบุคคลจะต้องแต่งตั้งผู้แทน ซึ่งจะต้องเป็นนิติบุคคลธรรมดาที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นได้ 1 คน และผู้แทนสำรองอีก 1 คน เพื่อปฏิบัติกิจการในหน้าที่ และใช้สิทธิแทนนิติบุคคลนั้น เมื่อผู้แทนไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ผู้แทนได้ ในการนี้ผู้แทนสำรองจะมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำแทน หรือแต่งตั้งตัวแทนช่วงมิได้
ข้อ 12. การขาดจากสมาชิกภาพ สมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลง ในกรณีดังต่อไปนี้:-
  1. ตายหรือสิ้นสภาพนิติบุคคล
  2. ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6.1 หรือ 6.2 แล้วแต่กรณี
  3. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อคณะกรรมการของสมาคม และได้ชำระหนี้สินที่ค้างชำระแก่สมาคมเรียบร้อยแล้ว
  4. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย
  5. ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
  6. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่กำหนดโทษขั้นลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
  7. คณะกรรมการของสมาคมลงมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียนสมาชิก โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมดด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
    (1) เจตนากระทำการใดๆ ที่ทำให้สมาคมเสื่อมเสียชื่อเสียง
    (2) เจตนาละเมิดข้อบังคับ
    (3) ไม่ชำระเงินค่าบำรุงสมาคมเกินกว่า 1 ปี โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
ข้อ 13. ทะเบียนสมาชิก ให้นายทะเบียนสมาคมจัดทำทะเบียนสมาชิกไว้ ณ สำนักงานของสมาคมโดยมีรายการตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 ได้กำหนดไว้
หมวดที่ 4
ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุง
ข้อ 14. ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม
      1. คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดอัตราค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงประจำปี โดยอนุมัติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
      2. ค่าบำรุงต้องชำระภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของปีปฏิทินนั้น
หมวดที่ 5
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ 15. สิทธิของสมาชิก
  1. ได้รับความช่วยเหลือและการสงเคราะห์ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการอันอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมจากสมาคมเท่าที่จะ
  2. อำนวยได้
  3. เสนอความคิดเห็นหรือให้คำแนะนำต่อสมาคม หรือคณะกรรมการของสมาคมในเรื่องใดๆ อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของสมาคมฯ
  4. สมาชิกหนึ่งในสี่ของสมาชิกทั้งหมด ขอตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของสมาคมได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อเลขาธิการสมาคม หรือ กรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการสมาคม
  5. เข้าร่วมประชุมอภิปรายแสดงความคิดเห็น ซักถามกรรมการเสนอญัตติในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือในการประชุมใหญ่วิสามัญ
  6. มีสิทธิประดับเครื่องหมายของสมาคม
  7. สมาชิกสามัญเท่านั้น มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือในการประชุมใหญ่วิสามัญ หรือในการรับเลือกตั้งเป็นกรรมการของสมาคม
ข้อ 16. หน้าที่ของสมาชิก
  1. ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งของสมาคม มติของที่ประชุมใหญ่ และมติของคณะกรรมการของสมาคมโดยเคร่งครัด
  2. ดำรงรักษาเกียรติ และผลประโยชน์ส่วนได้เสียของสมาคม
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของสมาคมให้เจริญรุ่งเรืองและมีความก้าวหน้าอยู่เสมอ
  4. ชำระค่าบำรุงให้แก่สมาคมตามกำหนด
  5. สมาชิกผู้ใดเปลี่ยน นาม นามสกุล สัญชาติ ย้ายที่ตั้งสำนักงาน เปลี่ยนประเภทวิชาชีพหรือวิสาหกิจ เลิกประกอบวิชาชีพหรือวิสาหกิจหรือเปลี่ยนผู้แทนนิติบุคคล จะต้องแจ้งให้ เลขาธิการสมาคมทราบเป็นหนังสือ ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง
หมวดที่ 6
คณะกรรมการของสมาคม
ข้อ 17. การเลือกตั้งคณะกรรมการ  ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้บริหารงานของสมาคมและเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ประกอบด้วยสมาชิกสามัญซึ่งได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี มีจำนวน 9 คน  
     การเลือกตั้งคณะกรรมการให้กระทำโดยวิธีให้สมาชิกสามัญหรือวิสามัญ เสนอนามของสมาชิกสามัญซึ่งตนประสงค์จะให้เข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการต่อที่ประชุมใหญ่ โดยสมาชิกสามัญและหรือสมาชิกวิสามัญรับรองไม่น้อยกว่า 2 คน แล้วให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติเลือกตั้ง ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงตามลำดับได้เป็นกรรมการเท่า หรือ ไม่น้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในวรรคแรก ถ้าผู้ใดคะแนนในลำดับสุดท้ายเท่ากันหลายคนให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน หากปรากฏว่าได้คะแนนเท่ากันอีกให้ใช้วิธีจับฉลาก
     คณะกรรมการทั้ง 9 คนนั้น นายก และอุปนายก ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากสมาชิกในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ส่วนตำแหน่งอื่นๆ ให้คณะกรรมการเลือกกันเอง ตำแหน่งละ 1 คน
     คณะกรรมการของสมาคมอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 2 ปี
     ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า  พ.ศ.2509  มาตรา 19 หรือมาตรา 33  กรรมการที่พ้นจากสภาพกรรมการไปแล้วอาจได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการอีกได้
ข้อ 18. การพ้นจากสภาพกรรมการ  กรรมการของสมาคมย่อมพ้นจากสภาพกรรมการในกรณีดังต่อไปนี้
  1. ครบกำหนดออกตามวาระ
  2. ลาออก โดยคณะกรรมการของสมาคมได้ลงมติอนุมัติแล้ว
  3. พ้นจากการเป็นผู้แทนของสมาชิกสามัญซึ่งเป็นนิติบุคคล
  4. ขาดจากสมาชิกภาพ
  5. ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ถอนจากการเป็นกรรมการ
  6. เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สั่งให้ออกตามมาตรา 33 พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
  7. ต้องคำสั่งพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
  8. เข้าร่วมประชุมน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของจำนวนการประชุมกรรมการในปีนั้นๆ
ข้อ 19. กรณีกรรมการว่างลงก่อนครบกำหนดออกตามวาระ ในกรณีที่มีกรรมการว่างลงก่อนกำหนดออก ตามวาระคณะกรรมการของสมาคมอาจตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งให้เป็นกรรมการแทนได้แต่กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งแทนนี้ ให้เป็นกรรมการอยู่ได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ที่ตนแทน
ข้อ 20. องค์ประชุมในการประชุมของคณะกรรมการ  ร การประชุมของคณะกรรมการของสมาคม จะต้องมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะนับว่าเป็นองค์ประชุม นอกจากว่าในขณะที่มีการประชุมคณะกรรมการของสมาคมนั้นๆ จะมีจำนวนกรรมการในคณะกรรมการของสมาคมน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด       ในกรณีที่มีจำนวนกรรมการในคณะกรรมการของสมาคมน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด กรรมการที่มีตัวอยู่ย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรรมการแทน เพิ่มขึ้นให้ครบจำนวน หรือนัดเรียกประชุมเท่านั้นจะกระทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้ทั้งสิ้น
ข้อ 21. มติของที่ประชุมคณะกรรมการ   นอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 22. ประธานในที่ประชุม   ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้อุปนายกปฏิบัติหน้าที่แทนถ้าทั้ง นายก และอุปนายก ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุม เลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม เฉพาะในการประชุมคราวนั้น
ข้อ 23. การประชุมคณะกรรมการ   ให้มีการประชุมคณะกรรมการของสมาคมอย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง อนึ่งในกรณีจำเป็น นายก หรือกรรมการรวมกันไม่น้อยกว่า 5 คน จะเรียกประชุมพิเศษขึ้นได้
ข้อ 24. การรับมอบงานของคณะกรรมการ  เมื่อมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่แต่ละครั้งในกรณีครบวาระ หรือคณะกรรมการชุดเดิมลาออกทั้งคณะ ให้คณะกรรมการของสมาคมชุดใหม่ยื่นจดทะเบียนเป็นคณะกรรมการของสมาคมการค้ากรุงเทพมหานครภายใน กำหนดเวลา 30 วันนับแต่วันยื่นจดทะเบียนเป็นกรรมการ       หากว่าไม่มีการยื่นจดทะเบียนเป็นกรรมการชุดใหม่ตามความในวรรคก่อนให้ถือว่ากรรมการในชุดเดิมเป็นคณะกรรมการ ของสมาคม อยู่เดิมตราบเท่าเวลานั้น
ข้อ 25. อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ    ให้คณะกรรมการของสมาคมมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ :-

  1. จัดดำเนินการกิจการและทรัพย์สินของสมาคมให้เป็นไปตามข้อบังคับและมติของที่ประชุม
  2. เลือกตั้งกรรมการให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะกรรมการของสมาคม
  3. วางระเบียบในการปฏิบัติงานของสมาคม
  4. ว่าจ้าง แต่งตั้ง และถอดถอน ที่ปรึกษาของคณะกรรมการสมาคม อนุกรรมการเจ้าหน้าที่ และ พนักงานทั้งปวงเพื่อให้การดำเนินงานของสมาคมเป็นไปโดยเรียบร้อย โดยอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการสมาคม
ข้อ 26. อำนาจหน้าที่กรรมการของสมาคมในตำแหน่งต่างๆ อำนาจหน้าที่ของกรรมการสมาคม ในตำแหน่งต่างๆ มีดังนี้ :-

  1. นายก มีหน้าที่ดำเนินกิจการของสมาคมให้เป็นไปตามข้อบังคับ   และระเบียบ ในการปฏิบัติงานของสมาคมเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นประธานในที่ประชุมของคณะกรรมการของสมาคมตลอดจนในที่ประชุมใหญ่สมาชิก
  2. อุปนายก   มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายก   ในกิจการทั้งปวงอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายกและเป็นผู้ทำการแทนนายกเมื่อนายกไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
  3. เหรัญญิก  มีหน้าที่รักษาและจ่ายเงินของสมาคม  ทำบัญชีการเงิน  เก็บรักษาทรัพย์สินและจ่ายพัสดุของสมาคม   ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ   ตามที่คณะกรรมการของสมาคมจะได้มอบหมาย
  4. นายทะเบียน   มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนสมาชิกและทะเบียนต่างๆ  อันมิใช่ทะเบียนเกี่ยวกับการเงินของสมาคม     ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ  ตามที่คณะกรรมการของสมาคมจะได้มอบหมาย
  5. เลขาธิการ   มีหน้าที่ทำการตอบหนังสือ  เก็บรักษาเอกสารต่างๆของสมาคมเป็นเลขานุการในที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคม   และที่ประชุมใหญ่ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการของสมาคมจะได้มอบหมาย
หมวดที่ 7
การประชุมใหญ่
ข้อ 27. การประชุมใหญ่  การประชุมใหญ่ให้หมายถึงการประชุมสมาชิกของสมาคม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ :-

  1. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี คือ การประชุมใหญ่ที่จะต้องให้มีขึ้นครั้งหนึ่งทุกระยะ
    เวลาสิบสองเดือน
  2. การประชุมใหญ่วิสามัญ คือ การประชุมใหญ่ครั้งอื่นๆ บรรดามี   นอกจากการประชุม 
    ใหญ่สามัญประจำปี
ข้อ 28. กำหนดการประชุมใหญ่  กำหนดการประชุมใหญ่ ดังนี้ :-
 
  1. ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี   ภายในเดือนมีนาคม   ของทุกปี
  2. ถ้ามีเหตุใดเหตุหนึ่งซึ่งคณะกรรมการของสมาคมเห็นสมควร หรือสมาชิกมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของสมาชิกทั้งหมดแสดงความจำนงที่จะให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อเลขาธิการของสมาคม  ให้คณะกรรมการของสมาคมนัดประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนดเวลา  15  วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
          หนังสือบอกกล่าวจะต้องระบุข้อความแจ้งเหตุ เพื่อการใดที่จะขอให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญด้วย
ข้อ 29. การส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุม   คณะกรรมการของสมาคมจะต้องส่งหนังสือบอกกล่าวถึง วัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมใหญ่ไปให้สมาชิกทุกคนได้ทราบโดยส่งจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของสมาชิก ที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน หรือส่งให้ถึงตัวสมาชิกก่อนกำหนดวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า 7 วัน
       ภายใต้บังคับของความในวรรคแรก ในกรณีที่เป็นการนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีจะต้องแนบสำเนารายงานการประชุมประจำปีและสำเนางบดุล ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วไปด้วย
ข้อ 30. องค์ประชุมในการประชุมใหญ่ ในการประชุมใหญ่ของสมาคมจะต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุม ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมดจึงจะถือเป็นองค์ประชุม

ข้อ 31. กรณีที่การประชุมในครั้งแรกสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม    การประชุมใหญ่ที่ได้เรียกนัดประชุม วัน และเวลาใดหากพ้นกำหนดไปแล้ว 1 ชั่วโมงยังมีสมาชิกไม่ครบองค์ประชุมถ้าการประชุมใหญ่คราวนั้นให้เรียกนัดเพราะสมาชิกร้องขอให้เลิกประชุม ถ้ามิใช่สมาชิกร้องขอให้เลื่อนการประชุมคราวนั้นไป และทำการบอกกล่าวนัดประชุม วัน เวลา และสถานที่ประชุมใหญ่นี้อีกครั้งหนึ่งภายในกำหนดเวลา 15 วันนับแต่วันประชุมใหญ่คราวแรก ในการประชุมใหญ่คราวหลังนี้จะมีสมาชิกมามากน้อยเพียงใดก็ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม
ข้อ 32. ประธานในที่ประชุม   ให้นายกเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ ถ้านายกไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อุปนายกทำหน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกและอุปนายกไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าและไม่มีกรรมการอยู่ในที่ประชุมเลยก็ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกสามัญคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธาน ในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น
ข้อ 33. วิธีออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่        สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะเเนนและ สมาชิกสามัญคนหนึ่งๆ มีคะแนนเสียงหนึ่งเสียง
      การออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ ให้ถือปฏิบัติเป็น 2 กรณี คือ :-
  1. โดยวิธีเปิดเผย   ให้ใช้วิธีชูมือ
  2. โดยวิธีลงคะแนนลับ   ให้ใช้วิธีเขียนบัตรลงคะแนนและจะกระทำได้เมื่อคณะกรรมการของสมาคม     หรือสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุมร้องขอ
ข้อ 34. มติของที่ประชุมใหญ่่ นอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุมใหญ่ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 35. กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีี กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่ สามัญประจำปีมีดังนี้ :-

  1. รับรองรายงานการประชุมใหญ่คราวก่อน
  2. พิจารณารายงานประจำปี  แสดงผลการดำเนินกิจการของสมาคมที่ผ่านมาในรอบปี
  3. พิจารณาและรับรองงบดุล
  4. เลือกตั้งคณะกรรมการของสมาคม
  5. เลือกตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี  และกำหนดค่าตอบแทน
  6. เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ข้อ 36. กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่วิสามัญ กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่วิสามัญ นั้นได้แก่ กิจการที่จะกระทำโดยอาศัยมติจากที่ประชุม แต่ไม่อาจหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถ จัดทำได้ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี

หมวดที่ 8
การเงินและการบัญชีของสมาคม

ข้อ 37. การจัดทำงบดุล   ให้คณะกรรมการของสมาคมจัดทำงบดุลปีละหนึ่งครั้ง แล้วส่งให้ผู้สอบบัญชีไม่เกินเดือนมกราคมของทุกปี และผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จก่อนวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีไม่น้อยกว่า 30 วัน
ข้อ 38. ปีการบัญชี  ให้ถือเอาวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันสิ้นปีการบัญชีของสมาคม
ข้อ 39. อำนาจของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งมีอำนาจเข้าตรวจสอบสมุดบัญชีและบรรดาเอกสารเกี่ยวกับการเงินของสมาคม และมีสิทธิสอบถามกรรมการตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสมาคมทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญขีและเอกสารดังกล่าว ในการนี้กรรมการและเจ้าหน้าที่จะต้องช่วยเหลือและให้ความสะดวกทุกประการเพื่อตรวจสอบเช่นว่านั้น
ข้อ 40. การเก็บรักษาสมุดบัญชีและเอกสารการเงิน      สมุดบัญชีและเอกสารการเงินของสมาคมจะต้องเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานของสมาคม และให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเหรัญญิก
ข้อ 41. การเงินของสมาคม เงินสดของสมาคมจะต้องนำฝากไว้ ณ ธนาคารพาณิชย์แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในนามของสมาคมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ      คณะกรรมการจะกำหนดวงเงินทดลองจ่ายเกี่ยวกับกิจการของสมาคมให้เหรัญญิกเป็น ผู้รับผิดชอบและเก็บรักษาตัวเงิน      การถอนเงินจากธนาคาร ให้อยู่ในอำนาจของนายก อุปนายก เหรัญญิก หรือ กรรมการคนใดคนหนึ่งโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคมลงนามร่วมกันสองคน
ข้อ 42. การจ่ายเงินของสมาคม  ในการสั่งจ่ายเงินของสมาคมแต่ละครั้งให้กระทำตามระเบียบการสั่งจ่าย ที่คณะกรรมการของสมาคมกำหนดไว้ทุกครั้งไป
หมวดที่ 9
การแก้ไขข้อบังคับ การเลิกสมาคม และการชำระบัญชี
ข้อ 43. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือตัดทอนข้อบังคับ ข้อบังคับนี้จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือเพิ่มเติมได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุม
ข้อ 44. การเลิกสมาคม สมาคมนี้อาจเลิกได้ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้ :-

  1. เมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด
  2. เมื่อล้มละลาย
  3. เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สั่งให้เลิกตามมาตรา  36    แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า   พ.ศ.  2509
ข้อ 45. การชำระบัญชีี เมื่อสมาคมนี้ต้องเลิกไปเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดดังกล่าวในข้อ 44 การชำระบัญชีของสมาคมให้นำ บทบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 มาใช้บังคับ
      ในกรณีที่สมาคมต้องเลิกไปตามข้อ 44.1 ให้ที่ประชุมใหญ่คราวนั้นลงมติเลือกตั้งกำหนด ตัวผู้ชำระบัญชีเสียด้วย และหากต้องเลิกไปตามข้อ 44.3 ให้กรรมการทุกคนในคณะกรรมการของสมาคมชุดสุดท้ายที่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของสมาคมต่อนายทะเบียนสมาคมการค้า-ประจำกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ชำระบัญชี       หากมีทรัพย์สินของสมาคมเหลือจากการชำระบัญชีให้ยกให้แก่นิติบุคคลในประเทศไทยที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับ การกุศลสาธารณะ แห่งหนึ่งแห่งใด หรือหลายแห่งตามมติของที่ประชุมใหญ่
หมวดที่ 10
บทเฉพาะกาล
ข้อ 46. เมื่อนายทะเบียนการค้าประจำกรุงเทพมหานคร ได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาชิกการค้าแล้วให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งทั้ง 3 คน ทำหน้าที่คณะกรรมการของสมาคมชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการของสมาคมตามข้อบังคับนี้ ซึ่งจะต้องจัดให้มีขึ้นภายในกำหนดเวลา 120 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าแล้ว
ข้อ 47. เพื่อประโยชน์แห่งความในข้อบังคับข้อ 8 ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งทั้ง 3 คน ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสามัญ
ข้อ 48. ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่วันที่นายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพมหานคร ได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าเป็นต้นไป
   
 
 
สมาคมธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์
2/9 หมู่ 3 ถ.รังสิต-นครนายก ต.ลำผักกูด อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110
ahpa@thaiahpa.com, nantarat.sueb@gmail.com
© Copyright @ 2012 All Rights Reseved : www.thaiahpa.com
If you have any comments or questions regarding this website, please send your email to
www.cw.in.th All users must comply with the terms and conditions provided here in.